Just another WordPress.com weblog

Posts tagged ‘ปวดท้องคลอด’

คลอดบุตร,เจ็บครรภ์,คลอดลูก

การเจ็บครรภ์และการคลอด (LABOUR AND BIRTH)
เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 40-42 สัปดาห์ นักจากระดูครั้งสุดท้าย มารดาจะเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์ที่ยอดมดลูกร้าวไปที่ท้องน้อยเป็นระยะ ๆ ร่วมกับมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด เมื่อสูติแพทย์ตรวจภายในจะพบว่าปากมดลูกมีการบางตัวและเปิดออก ในการคลอดปกติปากมดลูกจะเปิดหมด และทารกคลอดในที่สุดและรกคลอดตามมา ระยะเวลาของการเจ็บครรภ์จนกระทั่งคลอดใช้เวลาประมาณ 12-18 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 8-12 ชั่วโมงในครรภ์หลัง ในภาพแสดงระยะต่าง ๆ ของการเจ็บครรภ์และคลอดทารกท่าศีรษะ .

เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 37-42 สัปดาห์ นักจากระดูครั้งสุดท้าย มารดาจะเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์ที่ยอดมดลูกร้าวไปที่ท้องน้อยเป็นระยะ ๆ ร่วมกับมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด เมื่อสูติแพทย์ตรวจภายในจะพบว่าปากมดลูกมีการบางตัวและเปิดออก ในการคลอดปกติปากมดลูกจะเปิดหมด และทารกคลอดในที่สุดและรกคลอดตามมา ระยะเวลาของการเจ็บครรภ์จนกระทั่งคลอดใช้เวลาประมาณ 12-18 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 8-12 ชั่วโมงในครรภ์หลัง ในภาพแสดงระยะต่าง ๆ ของการเจ็บครรภ์และคลอดทารกท่าศีรษะ

1. ส่วนล่างของมดลูกบางตัวลง จนกระทั่งศีรษะทารกเข้าสู่เชิงกราน มารดาจะ
รู้สึกว่าครรภ์มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกกันว่าท้องลด (LIGHTENING) ซึ่งจะเกิดลักษณะนี้ 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด ในครรภ์แรก ส่วนในครรภ์หลัง อาจจะเกิดลักษณะนี้เมื่อใกล้คลอด

2-3. มดลูกหดรัดตัวเป็นจังหวะในระยะแรกของการเจ็บครรภ์ ปากมดลูกจะบางตัวและเปิดออก
ถึงน้ำค่ำอาจแตกออกทำให้มีน้ำใส ๆ ไหลออกทางช่องคลอด

4. เมื่อปากมดลูกเปิดหมด ศีรษะทารกจะเคลื่อนลงต่ำ จนกระทั่งคลอดในที่สุด สูติแพทย์ อาจตัดฝีเย็บเพื่อช่วยคลอด

5. สูติแพทย์ทำคลอดไหล่และลำตัวทารก

6. เมื่อทารกคลอดแล้ว รกจะคลอดตามมา สูติแพทย์ทำการตรวจช่องทางคลอดและเย็บซ่อมแซมฝีเย็บ

ข่าวเกี่ยวกับการคลอดบุตร


คอลัมน์ พบแพทย์จุฬาฯโดย รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ พบว่าการคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุการตายปริกำเนิดไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 จึงถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากการดูแลทารกกลุ่มนี้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง จึงเป็นภาระต่อครอบครัว และระบบสาธารณสุข ส่วนมากจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และมีโอกาสเกิดซ้ำในครรภ์ถัดไป ปัจจุบันที่เป็นเหตุชวนให้เกิด ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ, ทารกอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน, ทารกโตช้าในครรภ์, ครรภ์แฝด และครรภ์แฝดน้ำ, เศรษฐานะที่ยากจน, พันธุกรรม และการติดเชื้อในน้ำคร่ำ ปัจจุบันมีการใช้เทคนิคการช่วยเจริญพันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำได้อุบัติการของการตั้งครรภ์แฝดเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงทำให้จำนวนการคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น การใช้ชีวิตส่วนตัวของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เพียงแต่ทำให้คลอดก่อนกำหนด แต่ยังมีผลต่อความผิดปกติของสมองของทารกที่คลอดก่อนกำหนดด้วยการวินิจฉัยคุณหมอจะอาศัยจากประวัติเคยคลอดก่อนกำหนดและการตรวจร่างกาย โดยต้องแยกการเจ็บครรภ์จริง จากการเจ็บครรภ์หลอก โดยต้องมีการบีบตัวของมดลูกอย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 60 นาที ปากมดลูกต้องเปิดมากกว่า 1 เซนติเมตร อาจมีอาการปวดหลัง ปวดคล้ายปวดประจำเดือนร่วมด้วยก็ได้สูติแพทย์อาจตรวจภายในหรือใช้อัลตราซาวด์วัดความยาวของปากมดลูก ถ้าความยาวของปากมดลูกน้อยกว่า 25 มิลลิเมตร เมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ จะพบร่วมกับการคลอดก่อนกำหนดได้ นอกจากนี้ ยังนำมูกที่ปากช่องคลอดมาตรวจทดสอบ fetal fibronectin ก็สามารถทำนายการคลอดก่อนกำหนดได้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หากรู้ว่ามีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการของเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ เพราะทารกที่คลอดก่อนกำหนดการดูแลรักษานอกจากจะต้องใช้กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายสูงมากด้วยนะครับ

การเตรียมพร้อมก่อนคลอด
วันที่ 03/07/2009   16:37:30

เมื่อ คุณแม่ตั้งครรภ์ราว 8 เดือน ควรตรวจดูว่าได้เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดทารกน้อยแล้วหรือยัง คุณจะพบกับเหตุการณ์อะไรบ้างเมื่อเข้าห้องคลอด และควรเตรียมของใช้อะไรที่จำเป็นสำหรับการนอนโรงพยาบาล และของใช้สำหรับการดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอด

กระเป๋าเตรียมคลอด

ควรจัดเตรียมพร้อม เพื่อสามารถหยิบฉวยได้ทันที เมื่อต้องการอย่างเร่งด่วน สิ่งของที่ควรเตรียมมีดังนี้

  • ชุดที่จะใส่หลังคลอดกลับบ้าน 1 ชุด
  • ผ้าเช็ดตัวสีเข้ม และผ้าขนหนูเช็ดหน้า 2 ผืน
  • สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน
  • ผ้าอนามัยแบบห่วง
  • หนังสืออ่านเล่น, นิตยสาร, วิทยุเล็กๆ
  • เบอร์โทรศัพท์ของญาติพี่น้อง และเพื่อน
  • ของใช้สำหรับทารก ผ้าอ้อม 2 ผืน เข็มกลัดซ่อนปลาย (หรืออาจใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป) เสื้อชุดหมีหรือเสื่อชุดนอน ผ้าขนหนูผืนใหญ่
  • นอกจากนี้อาจเตรียมยกทรง สำหรับให้นมทารก 2-3 ตัว

การเจ็บครรภ์และการคลอด

ในที่สุด การเจ็บครรภ์ และการคลอดก็มาถึง คุณแม่อาจจะรู้สึกหวาดกลัว ตื่นเต้น เพราะจะเป็นช่วงที่มี การเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งหลังจากนั้นจะได้พบกับ ทารกตัวน้อย การผจญกับ การเจ็บครรภ์จะผ่านไปได้ ถ้าคุณแม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน และเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในระยะต่างๆ ของการคลอด การให้กำเนิดลูกน้อย เป็นประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ ยิ่งคุณแม่สงบใจ และผ่อนคลายได้มากเท่าไร ก็จะสามารถซึมซับความประทับใจ และผ่านประสบการณ์ ครั้งนี้ได้อย่างน่าจดจำ

การคลอดทางหน้าท้อง

การคลอดทางหน้าท้องหรือผ่าตัดคลอด ทางการแพทย์เรียก ซีซาเรียน เซ็คชั่น (cesarean section) จะเป็นวิธีคลอดที่ใช้สำหรับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดปัญหาไม่สามารถคลอดปกติทางหน้าท้องได้ เนื่องจากการคลอดทางหน้าท้องจะต้องมีการให้ยาระงับความรู้สึกมากกว่า และเสียเลือดจากการผ่าตัดมากกว่าการคลอดปกติ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดทางหน้าท้อง จึงมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดปกติ คุณแม่อาจจะรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถคลอดทารกทางช่องคลอดเองได้ และอาจรู้สึกกลัวการผ่าตัด แต่ความรู้สึกนี้จะน้อยลงหากคุณแม่เข้าใจเหตุผลของการผ่าตัด ทราบถึงขั้นตอนและการปฏิบัติตัวในการผ่าตัดคลอด ก็จะลดความวิตกกังวลลงได้

ในตอนของการผ่าตัดเตรียมคลอด เริ่มด้วยการโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ ให้น้ำเกลือที่แขนและใส่สายสวนปัสสาวะ ย้ายเข้าห้องผ่าตัด เตรียมยาระงับความรู้สึกอาจจะใช้วิธีใส่ท่อช่วยหายใจและใช้ดมยาสลบ หรือใช้ยาชาฉีดเข้าโพรงน้ำไขสันหลังหรือเหนือโพรงน้ำไขสันหลัง ซึ่งในกรณีหลังคุณแม่จะสามารถรู้สึกตัวขณะที่ทำการผ่าตัดคลอดทารก และอาจขอดูทารกหลังคลอดทันทีได้

การเลือกวิธีระงับความรู้สึกจะได้รับการพิจารณาโดยวิสัญญีแพทย์ โดยร่วมกับการตัดสินใจของคุณแม่ด้วย หลังได้รับยาระงับความรู้สึก แพทย์จะทำการผ่าตัดคลอดโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ ? -1 ชั่วโมง แผลผ่าตัดปกติจะมี 2 ชนิดคือ แผลตามยาวจากใต้สะดือถึงบริเวณเหนือหัวหน่าว กับแผลตามขวางหรือแผลบิกินี ซึ่งจะอยู่เหนือแนวขนที่อวัยวะเพศเล็กน้อย สำหรับไหมที่เย็บแผลอาจเป็นไหมที่ไม่ละลายซึ่งจำเป็นต้องตัดไหมประมาณ 5-7 วันหลังคลอด และไหมที่ละลายซึ่งไม่ต้องตัดไหมในกรณีที่ไม่มีปมไหม

การเกิดแผลเป็นนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยได้แก่ ลักษณะของแผลผ่าตัด แรงตึงของแผล และลักษณะผิวหนังของคุณแม่แต่ละคน ดังนั้น คุณแม่ควรใส่ใจ ในเรื่องความปลอดภัย และระวังดูแลบาดแผลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ มากกว่าการวิตกเรื่องแผลเป็น หลังผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว จะสังเกตอาการต่อในห้องพักฟื้นประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงย้ายคุณแม่ไปสู่หอผู้ป่วยหลังคลอด สำหรับคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด ปกติแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านใน 5-7 วันหลังคลอด

บทความโดย น.พ. ภาวิน พัวพรพงษ์