Just another WordPress.com weblog


ภาวะมีบุตรยากคืออะไร

ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง ภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์หรือมีบุตรได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ

โดยไม่ได้คุมกำเนิดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี พบประมาณร้อยละ 10-15 ของคู่สมรสในวัยเจริญพันธุ์ แบ่งได้เป็น 2

ชนิด คือ ภาวะมีบุตรยากชนิดปฐมภูมิ หมายถึง คู่สมรสที่ไม่เคยตั้งครรภ์เลยและภาวะมีบุตรยากชนิดทุติยภูมิ หมายถึง

คู่สมรสที่เคยตั้งครรภ์หรือมีบุตรแล้ว แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก

แนวทางการดูแลรักษา

1. ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการมีบุตรที่ถูกต้อง

 2. ตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

 3. แก้ไขสาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่พบ

 4. พิจารณาเลือกการรักษาที่เหมาะสม

 5. แนะนำทางเลือกอื่นในการมีบุตร เช่น การรับบริจาคไข่ การรับบริจาคอสุจิ การรับบริจาคตัวอ่อน

วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก

1. การฉีดเชื้อ

เป็นการฉีดน้ำอสุจิที่ผ่านการเตรียมให้มีความสามารถในการผสมกับไข่เข้าไปในโ

พรงมดลูกของฝ่ายหญิงในช่วงที่ไข่ตก โดยอสุจิที่ใช้อาจเป็นของสามีหรือผู้บริจาค

พบอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 10-15 ต่อรอบการรักษา

2. การกระตุ้นไข่โดยการใช้ยาหรือฮอร์โมนมาควบคุมการสร้างและการตกไข่

เพื่อให้มีไข่สุกครั้งละหลายๆใบและให้มีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติในช่วงที่ไข่ตก

พบว่ามีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 5-8 ต่อรอบการรักษาหรืออาจใช้ร่วมกับการผสมเทียม

การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งจะทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้น

การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร

การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ทั้งในฝ่ายชายและหญิง มีการดำเนินมาตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองจะมากระตุ้นให้มีการพัฒนาต่อจนเป็นเซลล์สืบพั

นธุ์ที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการปฏิสนธิ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในฝ่ายชาย คือ การสร้างอสุจิ

ซึ่งเกิดขึ้นที่อัณฑะใช้ระยะเวลาในการสร้างประมาณ 74 วัน ส่วนในฝ่ายหญิง คือ

การสร้างและพัฒนาของเซลล์ไข่

ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตามรอบระดูภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง

โดยในช่วงแรกของรอบระดู จะมีการเจริญเติบโตของฟองไข่หลายใบในรอบระดู

ไข่ที่ตกจะเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่

เมื่อมีเพศสัมพันธ์อสุจิจะว่ายผ่านมูกปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกและท่อนำไข่

ถ้ามีไข่ที่ตกเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ จะเกิดการปฏิสนธิกับอสุจิเพียง 1 ตัว จากนั้น

จะเกิดการแบ่งตัวกลายเป็นตัวอ่อนพร้อมกับมีการเคลื่อนที่เข้ามาฝังตัวในโพรงมดลูกที่ได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมน

เพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป หากไม่เกิดการปฏิสนธิขึ้น

ฮอร์โมนจากรังไข่จะลดระดับลงทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นระดูและจะมีการเปลี่ยนแปลงของฟองไข่ในรอบต่อๆไป

ซึ่งความสามารถในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในฝ่ายหญิงจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น

ทำไมจึงมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก เกิดจากปัจจัยฝ่ายชายร้อยละ 35-45 ปัจจัยฝ่ายหญิงร้อยละ 45-55 และไม่ทราบสาเหตุร้อยละ 10

สาเหตุของการมีบุตรยากจากฝ่ายชาย

1. ความผิดปกติของการสร้างอสุจิ อาจจะสร้างได้น้อยหรือไม่มีการสร้างอสุจิ พบได้ในโรค

Klinefelter ความผิดปกติของเซลล์สร้างอสุจิ ลูกอัณฑะฝ่อ หลอดเลือดขอดที่ถุงอัณฑะ

การได้รับยาหรือสารพิษที่มีผลต่อการสร้างอสุจิ การเคลื่อนที่ของอสุจิต่ำ

2. ความผิดปกติของระบบทางเดินอสุจิ เช่น การอุดตันของ vas deferens

ซึ่งเป็นทางเดินของน้ำอสุจิจากการทำหมัน นอกจากนี้ อาจเกิดจากน้ำอสุจิมีความเหนียวข้นมาก

และป้องกันไม่ให้อสุจิสัมผัสกับปากมดลูกภายหลังการร่วมเพศ

3. ความผิดปกติของการมีเพศสัมพันธ์และการหลั่งน้ำอสุจิ ได้แก่ การหลั่งน้ำอสุจิย้อนกลับ

หรือจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อช่องคลอดทำให้ไม่สามารถร่วมเพศได้

4. ความผิดปกติของการปฏิสนธิระหว่างอสุจิกับไข่จากความผิดปกติของตัวอสุจิหรือมีภูมิคุ้มกันต่อด้วยอสุจิ

5. การอักเสบติดเชื้อหรือการอักเสบจากปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิต้านทานต่ออสุจิ

สาเหตุของการมีบุตรยากจากฝ่ายหญิง เกิดจากความผิดปกติของการสร้างไข่หรือ

การควบคุมการไข่ตกซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของไฮโปธาลามัส

ต่อมใต้สมองหรือความผิดปกติของรังไข่เอง และอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ฝ่ายหญิง

สามารถจำแนกได้เป็น

1. เกิดจากช่องคลอด เช่น ช่องคลอดตีบหรือตัน ช่องคลอดอักเสบ

2. เกิดจากปากมดลูก เช่น ปากมดลูกอักเสบ เนื้องอกปากมดลูก มูกปากมดลูกผิดปกติ

ภูมิต้านทานต่อเชื้ออสุจิ

3. เกิดจากมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก

4. เกิดจากท่อนำไข่ เช่น ท่อนำไข่ตีบหรือตัน

5. เกิดจากรังไข่ เช่น ไข่ไม่ตก เนื้องอกรังไข่

6. เกิดจากอุ้งเชิงกราน เช่น พังผืดในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

แพทย์จะซัก

การประเมินภาวะมีบุตรยาก

ประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจอวัยวะเพศและตรวจภายใน (ฝ่ายหญิง)

เพื่อประเมินสาเหตุเบื้องต้นจากนั้น จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

                 ชาย

 

1. การตรวจน้ำเชื้ออสุจิ เพื่อดูปริมาณ การเคลื่อนไหว จำนวนและรูปร่างของตัวอสุจิ

2. การตรวจระดับฮอร์โมนเพื่อประเมินความผิดปกติของฮอร์โมนที่ควบคุมและมีผลต่อการสร้างอสุจิ

                  หญิง

 

1.การตรวจลักษณะมูกปากมดลูก การเพาะเชื้อ

2.การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (TVS)

3.การตรวจ TVS หลังจากฉีดน้ำหรือสารทึบแสงเข้าโพรงมดลูก

4.การฉีดสีเข้าโพรงมดลูก และ X-ray

5.การส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง

6.การส่องกล้องตรวจในโพรงมดลูก – ท่อนำไข่

7.การตรวจระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน

8.การตรวจปริมาณเซลล์ไข่สำรองของรังไข่จากระดับฮอร์โมน

9.การสุ่มตัวอย่างตรวจเยื่อบุโพรงมดลูก

10.การตรวจฮอร์โมนธัยรอยด์ โปรแลคติน การตรวจโครโมโซม

อัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นอย่างไร

คำตอบ : อัตราค่ารักษาจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่า คู่สมรสนั้นๆมีบุตรยากเนื่องจากสาเหตุใด และยังแตกต่างกันไปตามสถาบันแต่ละแห่ง และในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ในการที่จะเปรียบเทียบอัตราค่าใช้จ่ายของแต่ละแห่งนั้นต้องพิจารณาถึงรายละเอียดต่างๆของการรักษาด้วย สำหรับอัตราค่าใช้จ่ายของรพ.เจตนินในการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการมีบุตรนั้นจะอยู่ระหว่าง 40,000 – 100,000 บาทต่อรอบการรักษา ( ไม่รวมค่ายากระตุ้นไข่ ) แต่ถ้าเป็นการฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูกจะประมาณ 10,000 บาท 

การรักษาภาวะมีบุตรยากจะทำให้เกิดมีปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ไหม

คำตอบ : คำตอบคือ มีความเป็นไปได้แน่นอน ในสภาวะปกติการมีเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ ด้วยความรู้สึกรักและปฎิสัมพันธ์ ที่คู่สมรสมีให้แก่กัน แต่เมื่อมาเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากแล้ว ในระหว่างขั้นตอนการรักษาคู่สมรสจะถูกกำหนดให้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่ไข่สุก เพื่อจุดประสงค์ที่จะเพิ่มโอกาสของมีบุตร นั่นคือเหมือนกับถูกกำหนดการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง ซึ่งอาจมีผลทางด้านจิตใจในคู่สมรสบางท่าน การพูดคุยกับคู่สมรสเพื่อการเข้าใจปัญหาร่วมกัน และการปรึกษากับพยาบาลผู้มีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษา สามารถที่จะช่วยผ่อนคลายและหาวิธีการที่เหมาะสมได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก weneed babyและ โรงพยาบาล

ใส่ความเห็น