Just another WordPress.com weblog


วันนี้ขอเล่าเรื่องที่แปลกหน่อยครับ เรื่องการพัฒนาให้ลูกหลานของเราเป็นเด็กอัจฉริยะ

อัจฉริยะในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้วเพราะคนที่จะเป็นอัจฉริยะนั้น มีด้วยกัน 8 ด้าน ตามทฤษฎีอัจฉริยภาพพหุปัญญา ดังนี้

1.อัจฉริยภาพด้านภาษาและการสื่อสาร

2.อัจฉริยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

3.อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์และการจินตภาพ

4.อัจฉริยภาพด้านตรรกะและการคำนวณ

5.อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง

6.อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจคนอื่นๆและมนุษยสัมพันธ์

7.อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ

8.อัจฉริยภาพด้านดนตรีและจังหวะ

Multiple Intelligences หรือทฤษฎีพหุปัญญา (บ้างเรียกว่า เชาวน์ปัญญาหลายด้าน หรือ อัจฉริยภาพ
หลายประการ) เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่มีรากฐานมาจากการค้นคว้าและวิจัยทางสมอง ได้รับการ
พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1983 หรือ พ.ศ.2526 โดย ดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ Howard Gardner ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดและผู้รับผิดชอบโครงการ Project Zero เป็นผู้เสนอทฤษฎีนี้ขึ้น ในหนังสือชื่อ “ Frames of Mind” 
อัจฉริยะสร้างได้   

ประเทศไทยเรามีคุณ วนิษา เรซ ที่มีความสามารถในเรื่องนี้ และได้แต่งหนังสือขายดีมากเรื่อง อัจฉริยะสร้างได้

ดังนั้น เราคงพอเข้าใจแล้วครับว่า คำว่าอัจฉริยะ ไม่ใช่แค่การเรียนเก่ง จำเก่งเท่านั้น แต่มีความหมายที่กว้างมากขึ้น ทุกคนที่มีความสามารถเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งก็เป็นอัจฉริยะได้ เช่น กัน เช่น นักกีฬา นักอ่าน นักคิด นักเขียน

สำคัญในเรื่องนี้คือ การพัฒนาสมองให้มีความสัมพันธ์กันทั้ง 2 ซีก สมองซีกขวา เน้นเรื่องการจำเป็นภาพ สมองซีกซ้ายเน้นการคำนวณ เชิงตรรกะ แล้วเราสามารถพัฒนาสมองให้มีความเชื่อมโยงกันได้อย่างไร เพื่อพัฒนาตัวเราและลูกหลานให้เป็นคนที่มีพรสวรรค์ หรืออัจฉริยะแบบบ้านเมืองเขาได้บ้าง เรื่องนี้ต้องอาศัยการพัฒนาในเวลานานพอสมควร ซึ่งแนวทางมีมากมาย บางคนต้องเริ่มจากการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้อง มีการเปิดเพลงให้บุตรในครรภ์ฟังเพื่อพัฒนาสมองให้มีเส้นใยตาข่าย ให้มีการแตกตัวแบบไม่กำจัด

  การพัฒนาบางคนต้องเริ่มจากการเรียนรู้ผสมผสานกับการเล่นต่างๆ เช่น เรียนไปเล่นเกมส์ไป เรียนไปร้องเพลงไป หรือเรียนไปด้วยวาดภาพไปด้วย หรือเรียนไป คิดตามไปด้วย การเรียนรู้เหล่านี้เป็นการฝึกใช้สมองทั้งสองซีกให้มีการทำงานที่สัมพันธ์กัน เมื่อสัมพันธ์กันมากขึ้นแล้วจะมีการทำงานประสานงานกันที่ยอดเยี่ยม คนเหล่านี้เมื่อโตขึ้นมาจะสามารถอยู่ในสังคม มีการประยุกต์ คิดอะไรที่ตอบสนองต่อสังคมและทำให้สังคมมีการพัฒนามีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

   การพัฒนาบุตรหลานของเราให้เป็นอัจฉริยะนั้น ควรทำอย่างไร คงตอบยากมากในช่วงนี้เพราะปัญหาอยู่ที่ว่า ประเทศไทยมีการเรียนการสอนแบบเดิม คือเน้นครูเป็นศูนย์กลาง นักเรียนต้องเชื่อครู ครูบอกอะไรก็ต้องเชื่อและที่สำคัญปัจจุบันมีหลายโรงเรียนที่ทราบปัญหานี้ ได้มีการนำเอาการเรียนรู้แบบใหม่เข้ามา โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง แต่ยังทำได้ไม่ค่อยดีนักเพราะระบบการศึกษาใหญ่ๆยังต้องมีการสอบเข้าในระดับมหาวิทยาลัย เด็กต้องเรียนพิเศษ ต้องติวเข้ม เพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยดังๆ เมื่อจบแล้วก็จะได้งานดีเงินเดือนเยอะๆ สรุปแล้วส่วนใหญ่เรียนรู้ จบมาเพื่อเป็นทรัพยากรแรงงานหรือมนุษย์เงินเดือน ใช่หรือเปล่านะ??

มานึกถึงเจ้าของ 7-11 ที่เปิดขายสินค้าทั่วทุกมุมเมืองในขณะนี้ ถ้าคิดแบบเก่าคงไม่มาไกลขนาดนี้เพราะ ไม่ต้องมานั่งเฝ้าร้าน ปัญหาของหาย คนไทยชอบต่อรองราคา ซื้อเงินเซ็นต์ไม่ได้ แต่เพราะอะไรไม่ทราบใครๆก็อยากซื้อของ สินค้าที่ 7-11 กัน นี้แหละครับคือตัวอย่างของความคิดนอกกรอบของคนที่คิดระบบขึ้นมาแล้วขายลิขสิทธิ์นั้นๆให้คนที่สนใจนำมาพัฒนาต่อยอด ครับ

ใส่ความเห็น